A ข้างซ้าย B ข้างขวา
ให้ผู้ป่วยเหยียดแขนออกไปด้านหน้าจนสุด ค้างไว้ 10 วินาทีในท่าคว่ำมือ โดยให้ทำมุม 90 องศา กับลำตัวในท่านั่ง หรือ 45 องศา ในท่านอน จากนั้นให้ตรวจกำลังของกล้ามเนื้อขา (ตรวจในท่านอนเสมอ) โดยให้ยกขาทีละข้างสูงทำมุม 30 องศา ในท่าเหยียด ค้างไว้ 5 วินาที โดยจะตัดสินว่าอ่อนแรงเมื่อแขนตกก่อน 10 วินาที หรือ ขาตกลงก่อน 5 วินาที สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของความเข้าใจภาษา (aphasia) ให้ใช้ท่าทางหรือน้ำเสียงกระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามได้ ไม่แนะนำให้ใช้สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด การตรวจควรเริ่มจากแขนหรือขาข้างที่ปกติก่อนโดยตรวจทีละข้าง
จะให้ คะแนน "UN" เฉพาะกับผู้ป่วยที่ถูกตัดแขนหรือขาหรือมีการยึดตัวของข้อไหล่ หรือข้อสะโพก ในกรณีนี้ผู้ตรวจควรเขียนเหตุผลดังกล่าวให้ชัดเจน
0 - สามารถยกขาข้างที่อ่อนแรงขึ้นได้โดยสะโพกทำมุม 30 องศา กับพื้นในท่านอนหงาย คงตำแหน่งที่ต้องการได้ตลอด 5 วินาที 1 - สามารถยกขาข้างที่อ่อนแรงขึ้นให้สะโพกทำมุม 30 องศา กับพื้นในท่านอนหงายได้ไม่ถึง 5 วินาที ก็ต้องลดขาลงแต่ขาไม่ตกลงบนเตียง 2 - ยกขาขึ้นได้บ้างในท่านอนหงาย แต่ไม่ถึงตำแหน่งที่ต้องการหรือขาตกลงบนเตียงก่อน 5 วินาที 3 - ไม่สามารถยกขาขึ้นจากเตียงได้ในท่านอนหงาย 4 - ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา UN - ขาพิการหรือถูกตัด หรือพบมีปัญหาข้อติดยึดที่ไม่สามารถแปลผลการตรวจได้