ภาควิชาอายุรศาสตร์
ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
1.การทดสอบที่ให้บริการ
ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้
- การตรวจวัดในเลือด ได้แก่
- การตรวจวัดในปัสสาวะ ได้แก่
- การทดสอบการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine function test) ได้แก่
Standard Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)
Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) for GH
Bromocriptine Test in Acromegaly
1 mg Dexamethasone overnight suppression Test
2.ใบขอตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ จะต้องใช้ใบขอตรวจที่จัดทำโดยสาขาวิชาฯและภาควิชาอายุรศาสตร์เท่านั้น ใบขอตรวจทางห้องปฏิบัติการของสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ มีดังนี้
3.คำแนะนำในการกรอกใบส่งตรวจ
1. แยกใบสิ่งส่งตรวจระหว่างการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อความสะดวกในการกรอกข้อมูล
2. กรอกข้อมูลลงในใบขอตรวจให้ครบทุกช่อง โดยเฉพาะเวลาที่เก็บสิ่งส่งตรวจและระบุชื่อผู้เก็บสิ่งส่งตรวจ
3. ทำเครื่องหมายให้ชัดเจนในช่องที่กำหนดเท่านั้น
4. ลงชื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจและรหัสแพทย์ทุกครั้งเพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับ
5. ถ้าต้องการให้รายละเอียดต่าง ๆ เช่น เวลาในการเก็บสิ่งส่งตรวจ การใช้ยา หรือ ภาวะของผู้ป่วยขณะเก็บสิ่งส่งตรวจ กรุณาเขียนเพิ่มเติมให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้บันทึกในระบบ HCLAB และข้อมูลจะปรากฎอยู่ในใบรายงานผล เพื่อให้แพทย์ใช้ในการแปลผลต่อไป
6. แนะนำให้แยกใบขอตรวจออกจากถุงใส่สิ่งส่งตรวจ โดยใส่ถุงอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
4.การเก็บสิ่งส่งตรวจ
|
---|
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสมนั้น สำหรับการตรวจในเลือดส่วนใหญ่แนะนำให้งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด ยกเว้นกรณีที่จำเป็น เช่น ผู้ป่วยมีอาการช็อก หรืออาการน้ำตาลในเลือดต่ำก็สามารถเจาะเลือดในขณะเกิดอาการได้ โดยให้ระบุเวลาที่เจาะเลือดและอาการผู้ป่วยที่พบขณะเจาะเลือดด้วย
การเก็บสิ่งส่งตรวจดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมและได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเจาะเลือด สำหรับการทดสอบการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะดำเนินการภายใต้การกำกับของแพทย์ หลังจากได้รับคำสั่งจากแพทย์ ผู้ป่วยจะต้องติดต่อนัดวันทำการทดสอบล่วงหน้าที่ห้องปฏิบัติการก่อนเสมอ ซึ่งในวันที่มาติดต่อนัดหมายผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้เตรียมตัว คือ งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด 8-12 ชั่วโมง ก่อนวันนัดทำการทดสอบ (ขึ้นกับชนิดของการทดสอบ) ทั้งนี้อนุญาตให้ดื่มน้ำเปล่าได้ตลอด และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเฉพาะการทดสอบตามที่ได้รับในวันนัดตรวจ
กรณีที่แพทย์สั่งตรวจหลายการทดสอบพร้อมกัน และเป็นการทดสอบที่ใช้สิ่งส่งตรวจประเภทเดียวกัน สามารถติดต่อสอบถามปริมาณสิ่งส่งตรวจจำนวนน้อยที่สุดที่ต้องการใช้ร่วมกันได้
ทุกการทดสอบที่ใช้ปัสสาวะ 24 ชั่วโมงในการทดสอบ ห้ามใส่สารกันบูด ให้นำปัสสาวะทั้งหมดที่เก็บได้ส่งห้องปฏิบัติการทั้งหมดเพื่อตวงปริมาตรรวมก่อนทำการแบ่งเก็บ วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงให้ดูรายละเอียดตามเอกสารคำแนะนำวิธีเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (เอกสารแนบ)
กรณีที่สั่งเก็บปัสสาวะตรวจ urine free cortisol (UFC) ในช่วงเวลา 20.00-24.00 น. (4 hour urine fraction) นั้นให้เก็บปัสสาวะแยกขวดเฉพาะช่วงเวลาดังกล่าว และนำส่งพร้อมกับปัสสาวะช่วงเวลาอื่น
สำหรับผู้ป่่วยนอกที่มารับกระป๋องเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงที่ห้องปฏิบัติการ จะได้รับคำแนะนำวิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงพร้อมเอกสารประกอบคำอธิบาย และนำกลับมาส่งพร้อมปัสสาวะในวันที่กำหนด เพื่อสอบทานความถูกต้องของการเก็บปัสสาวะอีกครั้ง
สำหรับการส่งตรวจ Urine Free Cortisol (UFC) สำหรับผู้ป่วนทั่วไปของโรงพยาบาลศิริราช แพทย์จะต้องระบุการส่งตรวจ Urine creatinine ในสิ่งส่งตรวจเดียวกันด้วย เพื่อใช้ในการคำนวนหาค่า UFC เป็นหน่วย ug/day/g Cr ที่แพทย์เฉพาะทางต้องการ
กรณีที่แพทย์สั่งเก็บปัสสาวะเพื่อส่งห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะเทคนิคการแพทย์ หรือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำ เอกสารและอุปกรณ์ในการเก็บตามความเหมาะสม ขึ้นกับชนิดของการทดสอบ
![]() |
![]() |
---|---|
เอกสารคำแนะนำวิธีเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง หน้าที่ 1 คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
เอกสารคำแนะนำวิธีเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง หน้าที่ 2 คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
|
---|
การตรวจในปัสสาวะ เลือกหัวข้อเพื่อแสดง
|
---|
|
|
5.การส่งสิ่งส่งตรวจ
|
---|
การส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการควรนำส่งด้วยความรวดเร็ว โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงหลังเจาะเลือด ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิขณะนำส่ง ยกเว้น ACTH ต้องนำส่งทันทีหลังการเจาะเลือดและให้ควบคุมอุณหภูมิขณะส่ง ดังนี้
ห้ามพันหลอดเลือดมากับถุงน้ำแข็ง แนะนำให้ใส่ ice pack ในภาชนะใส่สิ่งส่ง ตรวจ(กระติก) แทน เพื่อควบคุมอุณหภูมิขณะนำส่ง และใส่หลอดเลือดในถุงพลาสติกก่อน 1 ชั้น เพื่อไม่ให้สัมผัสกับน้ำแข็งโดยตรง
สำหรับ Aldosterone และ Direct renin ไม่แนะนำให้เจาะในวันหยุดราชการ เนื่องจากการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจในตู้เย็นจะรบกวนต่อการตรวจวัด Direct renin ได้ ควรให้ผู้ป่วยเจาะเลือดในวันทำการ ถ้าจำเป็น กรุณาตรวจสอบว่ามีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการให้บริการนอกเวลาหรือไม่ ก่อนการเจาะเลือด
|
---|
ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ ปัจจุบันเปิดให้บริการผู้ป่วยทั่วไป และรับส่งสิ่งส่งตรวจที่
- วันทำการ (จันทร์ - ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 16.00 น.
- สำหรับผู้ป่วยจากหอผู้ป่วนใน โรงพยาบาลศิริราช
- ถ้ามีคำสั่งแพทย์สั่งตรวจในวันหยุดราชการ เจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ผ่วยกรุณาโทรติดต่อล่วงหน้าในวันทำการหลังจากได้รับคำสั่งจากแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดกรณีที่เป็นวันหยุดทำการคลินิกนอกเวลา ทั้งนี้รับเฉพาะวันเสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-12.00 น. และให้ส่งที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (คลินิกตรวจวัดความหนาแน่นเกลือแร่กระดูกนอกเวลาราชการ) อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ชั้น 6 โทร 02-4197293 เท่านั้น
|
---|
ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ อาจทำการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ ในกรณีที่เห็นว่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสิ่งส่งตรวจดังกล่าวอาจให้ค่าที่เชื่อถือไม่ได้ และเกิดผลเสียในการแปลผลการทดสอบ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสิ่งส่งตรวจจะโทรศัพท์แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ที่ส่งสิ่งส่งตรวจนั้นมา พร้อมทั้งบันทึกอุบัติการณ์ที่ตรวจพบทางห้องปฏิบัติการ หรือแบบบันทึกสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและเหตุผลของการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ ถ้าผู้ส่งตรวจยังยืนยันที่จะให้ทำการทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการจะทำการทดสอบและระบุถึงสภาพไม่เหมาะสมของสิ่งส่งตรวจนั้น ๆ ลงในใบรายงานผล
- เกณฑ์ปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ใช้ในงานปฏิบัติการ มีดังนี้
- การติดป้ายส่งตรวจไม่ถูกต้อง
- ชื่อ-นามสกุลในใบส่งตรวจไม่ตรงกับชื่อ-นามสกุลที่ติดบนภาชนะสิ่งส่งตรวจนั้น
- ไม่ติดป้ายชื่อ-นามสกุล บนภาชนะสิ่งส่งตรวจ
- การส่งสิ่งส่งตรวจ โดยไม่มีใบขอตรวจ
- สิ่งส่งตรวจที่เก็บในภาชนะที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้สารกันเลือดแข็งที่ไม่ถูกต้องตามที่ห้องปฏิบัติการกำหนด
- สิ่งส่งตรวจหกเลอะภาชนะที่เก็บสิ่งส่งตรวจ หรือใบขอตรวจ
- ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อขอตรวจหลายการทดสอบพร้อมกัน
- คุณภาพของสิ่งส่งตรวจไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่
- สิ่งส่งตรวจที่ไม่อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่กำหนดขณะที่มาถึงห้องปฏิบัติการ เช่น ไม่ควบคุมอุณหภูมิภายในกระติกส่งสิ่งส่งตรวจ ด้วย ice pack หรือไม่ใส่สิ่งส่งตรวจมาในถุงน้ำเย็นตามที่กำหนด
- สิ่งส่งตรวจที่มาถึงห้องปฏิบัติการนานเกินควร (นับจากเวลาที่ออกจากจุดต้นทาง) และไม่อยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 37 องศาเซลเซียส
- สิ่งส่งตรวจที่ส่งถึงห้องปฏิบัติการช้ากว่ากำหนดเวลาที่ห้องปฏิบัติการกำหนด หรือจัดเก็บระหว่างรอส่งไม่ตรงตามที่กำหนด
- สิ่งส่งตรวจที่ clot ในการตรวจที่ต้องใช้ plasma
|
---|
กรุณาตรวจสอบในรายละเอียดของการทดสอบชนิดต่างๆ เนื่องจากการทดสอบของห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม เป็น special test มีการสั่งตรวจน้อย จำเป็นต้องรวบรวมทำพร้อมกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อให้ค่าใช้จ่ายต่อการทดสอบเหมาะสม และผู้ป่วยได้รับผลทันเวลาตามที่แพทย์ต้องการ
6.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
|
---|
ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์
|
---|
กรุณาตรวจสอบในรายละเอียดของการทดสอบชนิดต่าง ๆ เนื่องจากการทดสอบของห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม เป็น special test มีการสั่งตรวจน้อย จำเป็นต้องรวบรวมทำพร้อมกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อให้ค่าใช้จ่ายต่อการทดสอบเหมาะสม และผู้ป่วยได้รับผลทันเวลาตามที่แพทย์ต้องการ
|
---|
ห้องปฏิบัติการจะเก็บสิ่งส่งตรวจ (ที่ -20 องศาเซลเซียส) ภายหลังการตรวจวิเคราะห์แล้ว เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อการขอตรวจซ้ำ
สำหรับสิ่งส่งตรวจที่ถึงกำหนดทำลาย ทางห้องปฏิบัติการจะทำการทำลายอย่างถูกต้องและปลอดเชื้อในภาชนะที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
7.การรายงานผลตรวจ
|
---|
เมื่อทางห้องปฏิบัติการได้ทำการทดสอบเรียบร้อยแล้ว ผลการทดสอบจะถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้ผ่านการประเมินด้านการตรวจสอบผล และจะส่งผลการตรวจเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูผล และพิมพ์ใบรายงานผลได้เอง
ผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราชใช้บริการพิมพ์ใบรายงานผลในระบบ Eclair
ผู้ป่วยต่างโรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะพิมพ์ใบรายงานผลการตรวจไว้ ซึ่งทางแต่ละโรงพยาบาลต้องมอบหมายให้ผู้แทนที่ได้รับการแจ้งว่าสามารถรับผลการทดสอบของผู้ป่วยได้มารับผล ซึ่งสามารถมารับผลได้ที่ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์
|
---|
คณะฯ มีนโยบายไม่ให้ทำการรายงานผลทางโทรศัพท์ หากแพทย์ผู้ใช้บริการต้องการทราบผลแต่ไม่สามารถพิมพ์ใบรายงานผลเองได้ ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์โทรศัพท์มาถามที่ห้องปฏิบัติการได้