ฟันปลอม ตอนที่ 2

ฟันปลอม (ตอนที่ 2)

ทพญ.วรรณดี   พลานุภาพ
งานทันตกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ปัญหาในการใช้ฟันปลอม
           เพราะฟันปลอมไม่ใช่ฟันแท้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เข้ามาพบแพทย์มีอันดับแรกคือ ฟันปลอมทำไปแล้วผู้ป่วยไม่ค่อยใส่ อาจเป็นเพราะลำคราญหรือไม่แล้วไม่สบายอันนี้ก็มีวิธีแก้คือ ก่อนตัดสินใจจะทำต้องการพิจารณาข้อดีข้อเสียของแต่ละชนิด แล้วก็ตัดสินใจว่าจะใส่แบบใด ฟันปลอดตอนนี้ราราไม่น้อย ฟันปลอดถ้าใส่ไปแล้วก็อาจจะเจ็บ ฟันที่เหลืออยู่หรือเวลาเคี้ยวก็หลวมหรือกระดก หรือเซียวฟันที่อยู่ติดกับโครงของฟันปลอมปัญหาเหล่านี้ควรจะไปแก้ไขกับทันตแพทย์ที่เคยทำให้ ผู้ป่วยคิดว่า การได้ใส่ฟันแล้วก็คือ เสร็จแต่ไม่ใช้การใส่ฟันปลอดที่ดีนั้นจะต้องมีการแก้ไข 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย คนไข้ไม่ควรคิดว่าเป็นความเกร็งใจหรือเสียเวลาคุณหมอ จะกรดฟันที่ละน้อยๆ ถ้ากรดที่ละมากๆ ฟันปลอมอาจจะหลวมเร็วไม่แนบสนิททำให้เป็นที่กักขังเศษอาหารได้

ผลเสียของการใส่ฟันปลอมเช่นไปเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดบ้าง และต่างกับฟันแท้อย่างไร
           ฟันปลอมที่ทำถูกวิธีจริงๆ แล้วจะไม่มีอันตรายต่อฟันที่เหลืออยู่ และจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหารให้ถ้าทำอย่างถูกต้องถ้ากรดฟันแต่งฟันได้ดี และทำครองได้ดีแนบสนิทกับฟันจริงก็จะไม่มีผลเสียอย่างนัก บางครั้งฟันที่ที่เหลืออยู่อาจเกิดอันตรายขึ้นบ้าง ฟันปลอมกดทับแน่นเกินไป กรดฟันมากไป ก็ทำให้เสียวฟัน ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้ป่วยต้องกับไปให้แพทย์แก้ไข ปัญหาของประสิทธิภาพและระยะเวลาการใช้งานของฟันปลอมแต่ละชนิดเพื่อจะเป็นทางเลือกให้กับผู้ทำกำลังตัดสินใจที่จะมาทำฟันปลอม   ฟันปลอมชั่วคราวทั่วๆ ไปที่เป็นพลาสติก ก็ขอให้ใช้งานระยะเวลาสั้น ๆ 1-6 เดือน ไม่หน้าจะเกินนี้ประสิทธิภาพการบดเคี่ยวไม่หน้าจะดีเท่ากับฟันปลอมชนิดถาวร เพราะว่าฐานเป็นพลาสติกไม่แข็งแรง พอบางครั้งอาจจะหลวมเร็ว และพลาสติกอาจจะแตกหักง่ายโดยเฉพาะฟังปลอมที่เป็นฟันหน้าการแตกหักอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ การซ้อมหรือเชื่อมต่ออาจจะไม่เสร็จในเวลา กรณีนี้ถ้าจำเป็นต้องใช้ครั้งหน้าอย่างน้อย 2 ชุด ในส่วนฟันปลอมที่เป็นโครงโลหะจริง ๆ แล้วจะใช้ได้ตลอดไปถ้ามีการดูแลอย่างดี และดูแลมันที่ยังเหลือออยู่และฟันปลอมควบคู่กันอย่างดีและสะอาด ประสิทธิภาพก็จะแข็งแรงเป็นชิ้นพอเหมาะไม่รำคราญนักประสิทธิภาพการบดเคี้ยวก็ดีกว่าพลาสติก   ส่วนข้อเสียก็อาจจะมีบ้างในกรณีที่ฟันปลอมหลายๆ ซี่ ชิ้นฟันปลอมโลหะก็อาจจะใหญ่มีน้ำหนักผู้ป่วยบางรายก็จะรำคราญ ราคาแพง ส่วนฟันปลอมที่เป็นครอบฟันหรือสะพานฟันที่ตำแหน่งถอดฟันไปหลายๆ ซี่ อันนี้จะประสิทธิภาพจะดี เหมือนฟันธรรมชาติ เนื่องจากเป็นครอบที่ติดอยู่บนตัวฟันมีรายฟันอยู่ก็จะได้เหมือนฟันแท้ ผู้ป่วยจะไม่รำคราญ ในบ้านเราการใช้งานเต็มที่ประมาณ 10 ปี เนื่องจากการดูแลไม่ดีพอกับการตรวจจึงทำให้ฟันผุใต้ครอบฟัน   การครอบฟันก็จะมีข้อเสียคือ อาจจะเกิดการผุหรือเป็นโรคเหงือกได้ทำให้ครอบฟันมีอายะน้อยและผุทำให้ครอบฟันนั้นมีอายุการใช้งานสั้นและต้องรื้ออกเป็นเรื่องยุ่งพอสมควร

ข้อแนะนำในการทำความสะอาดของช่องปากและรวมทั้งฟันปลอมที่เราทำขึ้นมาทดแทนด้วย
           หลักทั่วไปคือ ขจัดคราบอาหารออกจากตัวฟัน ทั้งฟันปลอดและฟันแท้จริงๆ แล้วฟันปลอมต้องถอดออกล้างทำความสะอาดหลังอาหารทุกครั้งส่วนฟันแท้ก็ควรจะแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหารถ้าทำได้ถ้าไม่ได้อย่างน้อยก็ต้องบ้วนปากทำความสะอาด ในส่วนของฟันปลอมก็แนะนำให้ใช้แปรง และยาสีฟันหรือปรงด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำเปล่าเพื่อขจัดสิ่งที่เกาะติด เช่น คราบอาหาร คราบหินปูน บนตัวฟันปลอมจะเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบได้ เมื่อใส่ฟันปลอมไประยะหนึ่งถ้าหลวมไม่ควรจะใส่ควรจะมาเสริมฐานเพื่อให้แน่นกับเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากและทำให้เป็นแผลมะเร็งในช่องปากได้ในเรื่องของฟันปลอมพลาสติกควรจะต้องระวังในเรื่องของความสะอาดและการตกแตกได้ง่าย จะเกิดปัญหาต้องซ่อมฟันบ่อยๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นฟันหน้าทำให้เกิดต้องขึ้นกับเวลาที่ทำด้วยเพราะผู้ป่วยบ่างรายอยากจะได้ฟันที่ซ่อมเสร็จเร็ว ๆ บางครั้งเป็นไปไม่ได้ ก็อย่างที่แนะนำฟันหน้าควรที่จะมี 2 ชุด เป็นอย่างน้อย   การใส่ฟันปลอมจะสามารถเคี้ยวอาหารได้แข็งๆ ได้ไหม เช่น ฝรั่ง หรือลักษณะค่อนข้างแข็งได้หรือควรหลีกดี ถ้าเป็นครอบฟันชนิดติดแน่นก็สามารถทานและทำได้เหมืนฟันแท้ได้ทุกประการแต่ถ้าเป็นฟันปลอดชนิดถอดได้ ถ้าศูนย์เสียฟันบางตำแหน่ง แต่ก็อาจเคี้ยวได้เพราะมีฟันจริงรับน้ำหนักอยู่มาก แต่ถ้าเสียไปหลายซี่การใช้งานก็ต้องระวังมากขึ้น ต้องควรระวังเพราะฟันปลอมเป็นแค่พลาสติกชนิดแข็งคงไม่สามารถทดแทนฟันแท้ได้   การตรวจสุขภาพฟัน ว่าใส่ฟันปลอมแล้วควรที่จะมาพบทันตแพทย์ไหมคือห่างหายไปอย่างน้อย 6 เดือนจะมาพบที่สำหรับฟันปลอมทำอย่างไรบ้าง  ควรจะหมั่นตรวจฟันทุก 6 เดือน หรือ 12 เดือน ทั้งฟันปลอมและฟันแท้ เพื่อว่าภายในช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนไปได้น้อยหรือไม่ค่อยเปลี่ยนยังไม่ถูกทำลายมากการรักษาก็จะง่าย จริงๆ แล้วฟันแท้ดีกว่าฟันปลอมแน่นอน เพราะฉะนั้นก็ควรหมั่นตรวจดูแลฟัน หรือจำเป็นต้องถอนฟันก็ควรจะใส่ฟันเพื่อความสวยงานและช่วยบดเคี้ยวอาหารกระเพราะจะได้ไม่ทำงานหนัก สิ่งสุดท้ายคือ ฟันปลอมช่วยกันช่องว่างที่เกิดขึ้นไม่ให้ฟันล้มเอียงหรือเคลื่อนห่างจากกัน ไม่แนะนำให้ทำฟันปลอมกับผู้อื่นที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ ซึ่งราคาจะถูกกว่าแต่ขาดการออกแบบวาแผนของฟันปลอมที่ดี และอาจจำให้ฟันที่ดี ๆ เหลืออยู่อาจจะต้องเสียไปก่อนเวลาเพราะรับแรงหรือทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด