ผ่าฟันคุด

ผ่าฟันคุด

งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

           เราต่างทราบกันดีว่า "ฟัน" เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร อีกทั้งยังเสริมส่งบุคลิกภาพของเราให้ชวนมองอีกด้วย แต่ปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติของฟันที่พบได้บ่อย นอกจากฟันผุ ฟันเกแล้ว ยังมีอาการฟันคุดที่นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะนอกจากจะทำให้จัดเรียงผิดรูปแล้ว ยังทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างมาก

ฟันคุดคืออะไร
           ฟันคุด คือ ฟันจมอยู่ในกระดูกขากรรไกรไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ ตัวฟันอาจโผล่ขึ้นมาเป็นบางส่วน ซึ่งส่วนของตัวฟันจะไม่โผล่ขึ้นมาในช่องปากเลย ซึ่งจะต้องแนะนำให้เอาออกโดยจะมีข้อยกเว้นเล็กน้อย คือ ในผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายทั่ว ๆ ไปไม่ดี ในขณะนั้นเราจะไม่แนะนำให้ถอนออก หรือในผู้ป่วยสูงอายุและฟันคุดหรือชนนั้น ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด เราพบโดยบังเอิญอาจไม่จำเป็นต้องถอนออก บางครั้งในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย แต่จำเป็นต้องถอนฟันหมดทั้งปากเนื่องจากฟันผุหรือเป็นโรคปริทันต์อย่างรุนแรง แต่พบว่ามีฟันกรามซี่สุดท้ายยังไม่ขึ้น ควรเก็บฟันนั้นไว้ก่อนสำหรับช่วยในการใส่ฟันปลอม หากพบว่าฟันเหล่านี้ขัดขวางการใส่ฟันปลอมจึงจะถอนออก

ผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะผ่าฟันคุด
           1. เลือดออกมากผิดปกติ คือ อาจเกิดจากผู้ป่วยมีอัตราการไหล และอัตราการหยุดของเลือดผิดปกติ ในการรักษาจะให้ Prophylactic therapy ก่อนทำเพื่อเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมรับการรักษา
           2. อันตรายต่อเส้นประสาท Mandibular ซึ่งจะเกิดจากการที่ฟันนั้นอยู่ชิดกับ Mandibular canal ทำให้ผู้ป่วยชาบริเวณที่เส้นประสาทนี้ไปเลี้ยงซึ่งได้แก่ริมฝีปากล่างและคาง
           3. อันตรายต่อเส้นประสาท Lingual จะเกิดเมื่อฟันคุดเกิดอยู่ชิดทางด้านลิ้นใต้ Mylo-hyoid ridge
           4. ปลายรากฟันหัก ถ้ารากนั้นอยู่ชิดกับ Mandibular canal หรือ Maxillary sinus ก็อาจดันเข้าไปใน Canal หรือ Sinus ได้
           5. ฟันข้างเคียงอาจได้รับการกระทบกระเทือนจนโยกหรือหลุด
           6. เครื่องมือทำฟัน เช่นหัว Bur หักฝังเข้าในกระดูก หรือปลาย Elevator หักค้างฝังอยู่ในกระดูก
           7. ฟันหลุดเข้าคอผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะเกิดในรายที่ทำโดยการดมยาสลบแล้วไม่ได้ Pack คอก่อน
           8. Alveolar process หักทำให้เลือดออกมาก ต้องพยายามห้ามเลือดและเย็บให้เรียบร้อย
           9. Maxillary tuberosity หักทำให้เลือดออกมาก ต้องพยายามเอาส่วนที่หักออก และเย็บ
แผลให้เรียบร้อย
           10. ขากรรไกรล่างหัก ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุเพราะฟันมักจะมี Ankylosis และเปราะ
           11. การดันฟันเข้าใน Maxillary sinus มักเกิดกับรายที่ฟันคุดชิดกับ Sinus เมื่อเกิดขึ้นต้องทำการเปิดแบบ Caldwell-Luc เพื่อเอาฟันออกทาง Canine fossa

ฟันคุดทำไมจึงบวม
           การบวมบริเวณใบหน้าที่คอหรือที่พื้นของปากผู้ป่วยทําให้กลืนลำบาก มีไข้สูง แสดงว่ามีการติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อมาตั้งแต่ก่อนทำแล้ว ขณะทำการรักษาอาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์กระจายข้าไป และบางครั้งอาจเกิดจาการที่ผู้ป่วยรักษาความสะอาดภายหลังการผ่าตัดไม่ดีพอจึงจำเป็นต้องเจาะหนงออก และล้างแผลให้สะอาดแล้วจึงใส่ท่อระบายหนองถ้าจำเป็น รวมทั้งให้ยา Antibiotic ร่วมด้วย

ข้อควรปฏิบัติภายหลังการถอนฟัน

           1. กัดผ้ากอซนาน 1 - 2 ชั่วโมง ไม่ควรบ้วนน้ำลายภายหลังการผ่าตัด 1 - 2 ชั่วโมง หาก 1 -                              2 ชั่วโมงไปแล้วยังมีเลือดซึมออกมาอีก ให้คายผ้ากอซแล้วกัดแผ่นใหม่ได้
           2. ใช้น้ำแข็งประคบข้าง ๆ แก้มข้างที่ผ่าตัด หรือถอนฟัน
           3. รับประทานอาหารอ่อน ๆ และทานยาตามแพทย์สั่ง
           4. แปรงฟันได้ตามปกติ
           5. ตัดไหมได้ภายหลังการผ่าตัด 7 วัน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อน ควรรีบกลับมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอวันนัด

 

ข้อห้ามที่อาจมีผลทำให้เลือดไหลไม่หยุด
           1. ห้ามดูด หรือเอาวัสดุใด ๆ เขี่ยแผล
           2. ห้ามบ้วนน้ำลายภายหลังการผ่าตัดหรือถอนฟันภายใน 1-2 ชั่วโมง
           3. ห้ามกินหมาก ห้ามสูบบุหรี่ และดื่มสุราภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
           4. ห้ามออกกำลังกายภายใน 24 ชั่วโมง

           ฟัน ถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญยิ่ง เราจึงควรหมั่นรักษาความสะอาด และไปพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพฟันอยู่เสมอ เพื่อที่หากพบความผิดปกติแพทย์จะสามารถให้การรักษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด