โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิ

โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิ

โดยนางขวัญจิตร  เหล่าทอง

นางเพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์

ที่ปรึกษา อาจารย์แพทย์หญิงเจนจิต  ฉายะจินดา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์มานพชัย  ธรรมคันโท

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ อัมพัน เฉลิมโชคเจริญกิจ

หน่วยโรคติดเชื้อทางนรีเวชและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สตรี

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

                                                                                             

สาเหตุ       เกิดจากเชื้อโปรตัวซัว  ที่ชื่อ  ทริโคโมแนส  วาจินาลิส (Trichomonas  Vaginalis)

ระยะฟักตัว  จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 10-14  วัน

แหล่งเชื้อ   น้ำอสุจิ  ตกขาวหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด

การติดต่อ  โดยการร่วมเพศ และสัมผัสทางเพศกับผู้มีเชื้อ

อาการ       ผู้หญิง  มีอาการช่องคลอดอักเสบ  ตกขาวเป็นฟองสีเขียวปนเหลืองหรือสีขาว  มีกลิ่น

เหม็น  มีอาการคัน  และแสบรอบๆปากช่องคลอด  บางรายมีอาการปัสสาวะแสบขัด  เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

             ผู้ชาย   ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ  บางรายมีเมือกใสหรือเมือกปนหนองไหล  มีอาการคันและเจ็บที่ท่อปัสสาวะ

การตรวจ  ผู้หญิง  แพทย์จะตรวจภายในนำสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดมาย้อมสีด้วยวิธีเฉพาะ  และส่องดูเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์

             ผู้ชาย   แพทย์จะนำสารคัดหลั่งจากปลายองคชาตตรวจวิธีเดียวกับการตรวจในผู้หญิง

การรักษา 

-         โรคนี้เป็นโรคที่รักษาหายขาด

-         ต้องรักษาผู้ป่วยและคู่นอน

-         แพทย์นิยมรักษาด้วยยาชนิดรับประทานครั้งเดียว

            *ซึ่งยาชนิดรับประทานครั้งเดียวมีฤทธิ์ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน  จึงควรรับประทานหลังอาหารทันที

            *ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์  แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาชนิดสอดช่องคลอดแทน  เพราะยารับประทานมีผลต่อทารกในครรภ์ 

            *หากได้รับการรักษาแล้วมีอาการที่สงสัยว่าจะแพ้ยา  เช่น  มีอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง  หรือมีอาการมากขึ้น  ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด

            *นอกจากนี้ควรได้รับการปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาเชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ได้แก่  ซิฟิลิส  และเอชไอวี

คำแนะนำการปฏิบัติตน  และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

            1.  งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหาย  ถ้าจำเป็นควรใช้ถุงยางอนามัย

            2.  รับประทานยาหรือสอดยาตามแผนการรักษา

            3.  ดูแลความสะอาด  ร่างกาย  เสื้อผ้า  ชุดชั้นใน  ไม่ใส่ซ้ำหมักหมม  และไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น

4.  ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ทุกครั้งหลังการขับถ่าย  โดยการล้างจากด้านหน้าไปหาด้านหลัง  แล้วซับให้แห้งด้วยผ้าหรือทิชชูสะอาด

5.  มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

6.  ถ้ามีอาการผิดปกติ  เช่น  ตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือเป็นหนอง  มีอาการคัน  ควรมาพบแพทย์  ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง 

7.  หากคู่นอนมีอาการที่น่าสงสัย  ควรพามาพบแพทย์

 

หากท่านมีข้อสงสัยใดหรือต้องการรับการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส  กรุณาติดต่อได้ที่ หน่วยโรคติดเชื้อทางนรีเวชและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สตรี (คลินิก 309) โทรศัพท์ 02-412-9689 หรือ 02-419-7377  เวลา 07.00-15.30น.

 

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด