การผ่าตัดยึดกระดูกใต้โคนลิ้นและกล่องเสียง

อีกทางเลือกหนึ่งของการรักษานอนกรน
การผ่าตัดยึดกระดูกใต้โคนลิ้นและกล่องเสียง
(
Hyoid myotomy and suspension)

รศ.นพ.วิชญ์  บรรณหิรัญ
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 เสียงกรน เกิดจากการที่ลมหายใจกำลังเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจส่วนต้นที่ตีบแคบลง ในลักษณะที่เป็น ลมหมุน และทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อรอบข้าง  โดยตำแหน่งที่แคบของทางเดินหายใจ อาจเริ่มตั้งแต่ จมูก, โพรงหลังจมูก, เพดานอ่อน, คอหอย, ต่อมทอนซิล, โคนลิ้น, จนถึงบางส่วนของกล่องเสียง   ทั้งนี้เสียงกรนนอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญอย่างมากกับคู่นอน หรือผู้ที่พักอาศัยร่วมด้วย ยังอาจเป็นอาการแสดงที่สำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มโรคภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea)  

แนวทางการรักษาผู้ป่วย ที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับจากการอุดกั้นนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น        
            - สาเหตุและความรุนแรงของโรค
            - ความต้องการและความร่วมมือของผู้ป่วย
            - ตลอดจนข้อดีข้อเสีย หรือข้อจำกัดของการรักษาแต่ละแบบ

โดยทั่วไปการรักษาแบ่งเป็น
            - การรักษาแบบอนุรักษ์ เช่น ลดน้ำหนัก, นอนตะแคง, อนามัยการนอนที่ดี, การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
            - การรักษาแบบจำเพาะ ซึ่งได้แก่ การใช้เครื่องอัดอากาศขณะหายใจ
(CPAP), การใช้เครื่องมือในช่องปาก, และการผ่าตัดทางเดินหายใจ เป็นต้น

แต่ในปัจจุบัน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา มีความก้าวหน้าเกี่ยวกับการรักษานอนกรน โดยทำการผ่าตัดยึดกระดูกใต้โคนลิ้นและกล่องเสียง เพื่อรักษาอาการนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับปานกลางหรือรุนแรง  ซึ่งในการผ่าตัดยึดกระดูกใตโคนลิ้นและกล่องเสียงนี้   มีจุดประสงค์เพื่อทำใหทางเดินหายใจบริเวณโคนลิ้น และเหนือกล่องเสียงกว้างและตึงขี้น เพราะบริเวณใต้โคนลิ้นจะมีกระดูกที่เราเรียกว่า ฮัยออยด (Hyoid bone)  ซึ่งเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อลิ้นและลําคอและบางส่วนของกล่องเสียง  กระดูกชิ้นนี้จะมีความกว้างตรงกลางราว 1  ซม. และยาวประมาณ  8-10  ซม. ในผู้ใหญ การรักษาวิธีนี้อาจทำภายใต้การฉีดยาชาหรือการดมยาสลบ  โดยแพทย์จะผ่าตัดผ่านแผลใต้คางซึ่งยาวประมาณ  6-7  ซม.  และทำการเย็บด้วยไหมพิเศษเพื่อยึดกระดูกฮัยออยดกับกระดูกของกล่องเสียง  (ที่เรามักเรียกว่า  ลูกกระเดือก)   

ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้
          -
อาการปวดหรือเจ็บแผลหลังผ่าตัดไม่มาก   
            - ไม่เห็นรอยแผล หรือส่วนมากเห็นได้ไม่ชัดเจน เพราะแผลผ่าตัดภายนอกนั้นจะอยูใต้บริเวณคางคล้ายรอยย่นของผิวหนังคอที่มีอยู่แล้ว
            - ผู้ป่วยไม่จําเป็นต้องตัดไหมภายหลัง เนื่องจากใชไหมละลายเองไดเย็บ  
            - บางครั้งอาจทำการตัดเนื้อไขมันใตผิวหนังบริเวณนี้ออกด้วย เพื่อลดปริมาณไขมันและทำใหรูปร่างคอใตคางดูดีขึ้น 

ข้อจำกัด
          -
มักต้องทําร่วมกับการผ่าตัดอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การจี้โคนลิ้นด้วยความถี่วิทยุ  เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการรักษา 
            - ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและอายุมากขึ้น  อาการอาจแยลงได 
            - ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน หรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด   ต้องหยุดยาก่อนผ่าตัดหลายวัน ทั้งนี้ ต้องปรึกษาแพทย  เพื่อประเมินความพร้อมของผู้ป่วยสําหรับการผ่าตัด   ซึ่งอาจต้องตรวจเลือด ภาพถ่ายรังสี  หรือ คลื่นหัวใจ แล้วแตความจำเป็น  

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด  
         
1. ผู้ป่วยอาจรู้สึกหายใจลําบากจากการบวมโคนลิ้น   
            2. บางรายอาจเลือดออกจากแผลผ่าตัด ซึ่งมักมีปริมาณน้อยและหยุดได้เอง
            3. ผู้ป่วยอาจกลืนไม่สะดวก เนื่องจากบวมและเจ็บโคนลิ้นในช่วงแรกไดซึ่งมักเป็นไมเกิน  1  สัปดาห   
         
4. ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรงและมีโรคประจำตัว เช่น  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  หรือ  โรคหัวใจร่วมดดวย จะมีอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงขึ้น 

นอกจากนี้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา ยังมีโครงการในอนาคต จะมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษานอนกรนแบบใหม่ เช่น
            - การรักษาด้วยการฝังพิลล่าร์ในเพดานอ่อน
            - การจี้ความถี่วิทยุในจมูกและช่องคอ
            - การผ่าตัดขากรรไกรเลื่อนมาด้านหน้า
            - การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการรักษาอื่น ๆ เช่น เครื่องมือยึดขากรรไกรล่างชนิดปรับได้กึ่งสำเร็จรูป         
           
- รวมถึงเครื่อง
CPAP ขนาดเล็กที่สุดในปัจจุบัน
            - การให้บริการตรวจการนอนหลับแบบไร้สาย
(wireless sleep study) ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างมาก เป็นต้น

            นอนกรนเป็นอาการอย่างหนึ่งของภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับจากการอุดกั้น ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขอย่างหนึ่งของประเทศ  อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีเทคโนโลยีจำนวนมากที่นำมาใช้ในการรักษา ซึ่งหากผู้ป่วยมีปัญหาดังกล่าว สามารถรับคำปรึกษาได้ที่ คลินิกนอนกรน ตึกสยามินทร์ ชั้น 1 ห้อง 102 โทร. 02 419 7835 หรือ ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 5 หน่วนตรวจโรคหู คอ จมูก โทร. 02 419 7406 ได้ต่อไปครับ

 


เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด