เนื้องอกสมอง (ตอนที่ 1)
เนื้องอกสมอง (ตอนที่ 1)
อ.นพ.ศรันย์ นันทอารี
ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
วิธีการรักษาในปัจจุบันอย่างไร
วิธีการรักษาเนื้องอกสมองในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ คือ
1. การทำผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแล้วในคนไข้ส่วนใหญ่
2. การฉายรังสี
3. การให้ยาเคมีบำบัด
ในคนไข้แต่ละรายอาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเนื้องอกชนิดใด
มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
อย่างที่เรียนให้ทราบว่าเนื้องอกสมองนั้นมีหลายชนิด บางชนิดมีขอบเขตชัดเจน หมอผ่าตัดสามารถผ่าตัดเนื้องอกได้หมด ในกรณีนั้นจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ในกรณีของมะเร็ง เนื้องอกกระจัดกระจายได้สามารถตัดออกได้หมด แพทย์สามารถผ่าตัดออก เพื่อบรรเทาอาการให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ไม่หายขาด สรุปว่า บางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ , บางชนิดก็ไม่สามารถรักษาได้
อันตรายจากโรคนี้มีมากน้อยเพียงใด
เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ ดังนั้น เนื้องอกสมองไม่ว่า จะเป็นเนื้อดีหรือร้าย ถ้าไม่ได้รับการรักษา คนไข้จะเสียชีวิต จึงถือว่าเป็นโรคที่อันตรายโรคหนึ่ง แต่ปัจจุบันก็สามารถรักษาให้หายได้
พบปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่
สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก่อนการรักษา เช่น คนไข้อาจจะมีภาวะพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ก่อนที่จะเข้ารับการรักษา ในกรณีสามารถรักษาให้ดีขึ้น หรือ หายขาด ผลการรักษาจะได้ผลดีขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก และ เนื้องอกที่เกิดขึ้นทำงายสมองไปมากน้อยเท่าใด
2. เป็นผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษา การรักษาทุกวิธีไม่ว่าจะเป็นการฉายแสง การทำผ่าตัด หรือการใช้เคมีบำบัด อาจจะมีผลแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลแทรกซ้อนจากการรักษาจะต่ำกว่าผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นถ้าเราปล่อยเนื้องอกไว้โดยที่ไม่ทำอะไรเลย
วิธีการดูแลตนเองของผู้ป่วย
คนไข้ควรจะเข้ารับการรักษาตามที่แพทย์กำหนดไว้ เนื่องจากมีคนไข้บางกลุ่มที่มีทัศนคติที่นัดเกี่ยวกับการรักษา เช่น เชื่อว่าการฉายแสงจะทำให้เนื้องอกลุกลามมากขึ้น หรือ ร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งคนไข้ควรจะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่และในภายหลังการรักษา คนไข้ควรทำกายภาพบำบัดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะมีส่วนช่วยฟื้นฟูสุขภาพที่สูญเสียไป ฟื้นตัวกลับมาเร็วขึ้น และภายหลังจากการรักษาแล้ว แพทย์อาจจะนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ เพราะเนื้องอกบางอย่างที่ผ่าตัดไปหมด มีโอกาสที่จะงอกออกมาใหม่ได้อีก
วิธีการป้องกันโรคควรทำอย่างไร
ปัจจุบันเนื่องจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในเนื้อสมองโดยตรง ส่วนใหญ่เราไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ดังนั้นในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกัน แต่อย่างไรก็ตามมีเนื้องอกสมองบางชนิด ที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น ๆ มาที่สมองแล้วเราทราบสาเหตุ ยกตัวอย่าง เช่น มะเร็งปอดที่เราพบบ่อยว่าจะกระจายมาที่สมองในกรณีนี้ถ้าเราหลีกเลี่ยงภาวะเสียงที่จะทำให้เกิดมะเร็งปอด เช่น งดสูบบุหรี่ เราก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้น้อยลง
เนื้องอกสมองจำนวนหนึ่งเราสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อย่างไรก็ตามคนไข้ที่มีภาวะความเจ็บป่วยที่พิกลพิการจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากญาติ ๆ ในครอบครัว การสนับสนุนทางด้านกำลังใจ ทางด้านกายภาพต่าง ๆ การพาผู้ป่วยไปตรวจเป็นระยะ ๆ หรือ การพาผู้ป่วยไปทำกายภาพบำบัดจากการสนับสนุนของครอบครัวจะทำให้คนไข้มีอาการที่ดีจนกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม
- มีต่อตอนที่ 2-