สมุนไพรไม่ไกลตัว เรื่อง พริกไทย
สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper nigrum L. (๑)
ชื่อวงศ์ PIPERACEAE (๑)
ชื่ออื่น ๆ พริกน้อย (๒), Black Pepper, Pepper Corn (๓)
สรรพคุณตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย :
เมล็ดพริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ บำรุงธาตุ (๔,๕)
วิธีใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ :
ใช้เมล็ดพริกไทยอ่อน เป็นส่วนประกอบในอาหาร (๕) เช่น แกงเผ็ด แกงป่า ผัดฉ่า ผัดเผ็ด คั่วกลิ้ง เพื่อช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อหลังรับประทานอาหารได้
ข้อควรระวัง (๖)
- ควรระวังการใช้พริกไทยในปริมาณมากในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีไข้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มความร้อนภายในร่างกาย และอาจทำให้เกิดการแท้งได้
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin
- ควรระวังการรับประทานพริกไทยในปริมาณมากร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และ ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
เอกสารอ้างอิง
- Plants of the world online. Piper nigrum L. [Internet]. [cited 2023 Mar 10]. Available from: https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:682369-1
- Thai plant names. พริกไทย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ ๑๐ มี.ค. ๒๕๖๖]. เข้าถึงได้จาก: https://botany.dnp.go.th/mplant/words.html?keyword=พริกไทย
- สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. Thai herbal pharmacopoeia 2021 supplement 2022. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ๒๕๖๔.
- มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯและโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; ๒๕๕๐.
- โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ท่าเตียน พระนคร. ประมวลสรรพคุณยาไทย (ภาคสอง) ว่าด้วย พฤกษชาติ วัตถุธาตุ และสัตว์วัตถุนานาชนิด. กรุงเทพฯ; ๒๕๒๑.
- ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๔. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔.