มะตูมกับอาการท้องร่วง

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

          มะตูมเป็นสมุนไพรที่คนไทยคุ้นหูและคุ้นเคย เนื่องจากมีการนำไป แปรรูปเป็นเมนูขนมและเครื่องดื่มอย่างหลากหลายและสามารถหาซื้อได้ง่าย โดยเฉพาะผลมะตูมมีการนำมาทำมะตูมเชื่อม เค้กมะตูม วุ้นมะตูม หรือน้ำมะตูม ซึ่งเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมดื่ม เนื่องจากเป็นสมุนไพร ที่รับประทานได้ง่าย จึงมีการใช้มะตูมเป็นยารักษาอาการต่างๆ อย่างแพร่หลาย เช่น แก้ท้องเสีย ขับลม ช่วยระบาย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เรามักเห็นแต่การใช้ ส่วนผล หรือเนื้อผล เพื่อนำมารับประทานเป็นอาหารหรือบรรเทาอาการ แต่ ส่วนอื่นๆของมะตูม เช่น ใบ ราก เปลือกต้น ก็มีสรรพคุณทางยาด้วยเช่นกัน

          โดยมะตูมมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb. อยู่ในวงศ์ Rutaceae มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Bael หรือชื่อ อื่นๆว่า Bael fruit tree, Bengal quince, Bilak, Indian bael, Tree bael หรือชื่อภาษาไทยท้องถิ่นว่า กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม พะโนงค์ มะปิน มะปีส่า เป็น ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือเรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูป ไข่แกมใบหอกขอบใบหยักมน ดอกช่อออกที่ซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้าน นอกสีเขียวอ่อนด้านในสีนวล ใบและดอกกลิ่นหอม ผลเป็นผลสดเนื้อในสีเหลืองมี น้าเมือก(1)

          ในส่วนต่างๆของมะตูมพบสารสาคัญหลายชนิด เช่น ใบ พบสาร Skimmianine, Aegeline, Lupeol, Cineol, Citral, Citronella, Cuminaldehyde ,Eugenol, Marmesinine เปลือกต้น พบ สาร Skimmianine, Fagarine , Marmin ผล พบสาร Marmelosin, Luvangetin, Aurapten, Psoralen, Marmelide, Tannin(2)

          ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะตูมเพื่อการรักษามาตั้งแต่อดีต โดยมีสรรพคุณทางยา ตามส่วนที่นามาใช้ เช่น ผลดิบ แห้ง แก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุก รสหวานเย็น เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร บารุงไฟธาตุ แก้ลมในท้อง แก้มูกเลือด ผลอ่อน รส ฝาดร้อนปร่าขื่น บดเป็นผง ต้มกินแก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้โรคกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงกำลัง ผลแก่ รสฝาดหวาน ต้มดื่มแก้เสมหะและลม บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ใบสด รสฝาด มัน คั้นน้ำกินแก้หลอดลมอักเสบ แก้บวม แก้หวัด แก้ผดผื่นคัน แก้ตาบวม แก้ตาอักเสบ เปลือกรากและต้น รักษาไข้มาลาเรีย ขับลมในลาไส้ ราก รสฝาดซ่า ใช้เป็นยาแก้ปากเปื่อย ขับเสมหะ แก้พิษฝี พิษไข้ แก้สติเผลอ ขับน้าดี ขับลม(3)

          ในเมือง West bank ประเทศปาเลสไตน์มีรายงานว่ามีการใช้มะตูมถึง 95% เพื่อรักษาอาการท้องร่วง(4) รวมทั้งในการรักษาแบบดั้งเดิมของประเทศอินเดียถือว่ามะตูมเป็นหนึ่งในสิบสมุนไพรที่สาคัญในการเป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะโรคหรืออาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร บิด ท้องร่วง เป็นต้น(5)

          ด้านงานวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง ในปี 2008 ได้มีการศึกษาโดยให้สารสกัดน้ำจากผลมะตูมปริมาณ 1 มิลลิลิตร แก่หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการท้องร่วงด้วยน้ำมันละหุ่ง (Castor oil) แล้วสังเกตและบันทึกการถ่ายอุจจาระทุกๆ 30 นาทีเป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดน้ำจากผลมะตูมสามารถลดความรุนแรงและความถี่ในการถ่ายอุจจาระได้อย่างมีนัยสาคัญ แต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายามาตรฐาน Lomotil และ ในปี 2012 ให้สารสกัดน้าจากใบมะตูมขนาด 200 มิลลิลิตร แก่หนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนาให้เกิดอาการท้องร่วงด้วยน้ามันละหุ่ง (Castor oil) และแมกนีเซียมซัลเฟต (Magnesium sulphate) จากการสังเกตปริมาณอุจจาระที่ขับออกมา พบว่าสารสกัดน้ำจากใบมะตูม สามารถลดอาการท้องร่วงได้อย่างมีนัยสาคัญ เมื่อเทียบกับยามาตรฐาน Loperamide 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้าหนักตัว โดยที่สารสกัดน้ำจากผลมะตูมสามารถต้านการขับอุจจาระจากน้ำมันละหุ่งได้ 54.7% และจากแมกนีเซียมซัลเฟตได้ 62.5% ในขณะที่ยามาตรฐานสามารถต้านได้ 88.6% และ 81.2% ตามลาดับ(6)

          นอกจากนี้ในงานวิจัยยังมีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูเพศเมีย 3 ตัว โดยให้สารสกัดน้ำจากมะตูมปริมาณ 2,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสังเกตอาการวันที่ 2 และ 14 ได้ผลว่า ไม่พบอาการแสดงของการเกิดพิษใดๆ ไม่ก่อให้เกิดการตาย และไม่มีพฤติกรรมการกินอาหารหรือน้ำที่เปลี่ยนไปของหนู(7) และการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน โดยให้สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์จากใบมะตูมในหนูเพศผู้และเพศเมีย ที่ปริมาณ 50, 90 และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ทางหน้าท้องเป็นเวลาต่อเนื่องกัน 14 วัน ไม่พบผลข้างเคียง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอวัยวะภายในอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(8)

          ดังนั้นการนามะตูมมาใช้เพื่อรักษาอาการท้องร่วง จากหลักฐานระดับสูงสุดที่พบเป็นเพียงการวิจัยในหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลอง คือระดับ 5 ระดับคำแนะนำจึงเท่ากับ D ซึ่งหมายถึงไม่ทราบว่ามีประสิทธิผลหรือไม่ (ประเมินจากเกณฑ์ของ OCEBM 2011 ปรับปรุงโดยสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์) เนื่องจากไม่สามารถสรุปได้ด้วยหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนการนำมาใช้รักษาตามทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทยนั้น เนื่องจากไม่มีงานวิจัยทางคลินิกมาสนับสนุนการใช้ จึงควรมีการพิจารณาถึงภาวะผู้ป่วยและสมุฏฐานของโรคว่ามีความเหมาะสมในการใช้หรือไม่

References

1. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. RUTACEAE Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb. [Internet]. [cited 2016 Aug 13]. Available from: http://www.medplant.mahidol.ac.th/pharm/botanic.asp?bc= 0511&kw=%C1%D0%B5%D9%C1*.

2. Maity P, Hansda D, Bandyopadhyay U, Mishra DK. Biological activities of crude extracts and chemical constituents of Bael, Aegle marmelos (L.) Corr. Indian J Exp Biol. 2009;47(11):849-61.

3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. มะตูม [Internet]. [cited 2016 Aug 13]. Available from: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=262.

4. Jaradat NA, Ayesh OI, Anderson C. Ethnopharmacological survey about medicinal plants utilized by herbalists and traditional practitioner healers for treatments of diarrhea in the West Bank/Palestine. J Ethnopharmacol. 2016;182:57-66.

5. Baliga MS, et al. Review on the Protective Effects of the Indigenous Indian Medicinal Plant, Bael (Aegle marmelos Correa), in Gastrointestinal Disorders. Bioactive Food as Dietary Interventions for Liver and Gastrointestinal Disease: Bioactive Foods in Chronic Disease States2012. p. 313.

6. Surve V.S. ea. Studies on Anti-Diarrhoeal Activity of Aegle marmelos(Bael) in Rats. J Bombay Veterinary College. 2008;16(1):17-8.

7. Lakshmi P. Evaluation of Antidiarrhoeal activity of extract from leaves of Aegle marmelos. Journal of Applied Pharmaceutical Science. 2012;2(2):75.

8. Veerappan A, Miyazaki S, Kadarkaraisamy M, Ranganathan D. Acute and subacute toxicity studies of Aegle marmelos Corr., an Indian medicinal plant. Phytomedicine. 2007;14(2-3):209-15.

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด