ป้องกันอย่างไร เมื่อเจอปัญหาฝุ่นควัน

ป้องกันอย่างไร  เมื่อเจอปัญหาฝุ่นควัน

อ.นพ.อดิศักดิ์  เกษมอัศวชานนท์

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

           หมอกควันในภาคเหนือ เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นและหมอกควันจากไฟป่า ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ หมอมีคำแนะนำวิธีป้องกันมาฝากครับ

ปัญหาหมอกควันมักเกิดในช่วงฤดูหนาว สาเหตุเกิดจากความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมพื้นที่ ทำให้ไออากาศร้อนไม่สามารถลอยตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศระดับสูงได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาหมอกควันกระจายตัวอยู่ในระดับพื้นดิน จนเกิดปัญหามลพิษที่สำคัญมีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและสุขภาพ

การป้องกันตนเอง คือ

1.      หลีกเลี่ยงการสูดฝุ่นละอองของควันไฟโดยใช้หน้ากากอนามัย หรือผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำหมาดๆ  

ปิดปากปิดจมูก และสวมแว่นตาทุกครั้งที่ออกจากบ้าน

2.      หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่โล่งแจ้ง  โดยเฉพาะการออกกำลังกายและทำงานหนัก ที่ต้องออก

แรงมากนอกบ้าน เพราะจะทำให้มีโอกาสสูดควันได้มากขึ้น

3.      ปิดประตูหน้าต่างด้านที่รับลม ซึ่งพัดหมอกควันเข้าภายในบ้าน และเปิดประตูหน้าต่างด้าน

ตรงข้ามกับทิศทางลม  เพื่อลดหมอกควันและฝุ่นละอองที่เข้ามา  และถ้าเป็นไปได้อาจมีภาชนะบรรจุน้ำไว้ที่หน้าต่างที่เปิด ซึ่งจะช่วยลดหมอกควันที่เข้ามาได้ดียิ่งขึ้น

4.      ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ งดการรองน้ำฝนไว้ใช้ดื่มกินชั่วคราว หากจำเป็นให้รองน้ำฝนหลังจาก

ฝนตกไปแล้ว 1 ชั่วโมง เพราะฝุ่นควันที่มีจะลดลง เนื่องจากถูกชะล้างไปกับฝนในช่วงแรก และควรใช้น้ำสะอาดกลั้วคอแล้วบ้วนทิ้งวันละ  3 -4 ครั้ง ห้ามกลืน

5.      ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด รวมทั้งเด็กและผู้สูงอายุ  ควรพักผ่อนอยู่ในบ้าน  

และควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม หากมีอาการผิดปกติ  เช่น หายใจลำบาก  แน่นหน้าอก  แสบตา  น้ำตาไหล  ตาแดง   ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน  ให้รีบไปพบแพทย์

นอกจากการปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพตนเองแล้ว ที่สำคัญทุกคนต้องมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยห้ามเพิ่มปริมาณหมอกควันในอากาศ เช่น ห้ามเผาขยะ เศษใบไม้ กิ่งไม้ จุดธูปเทียน หรือสูบบุหรี่ ส่วนเกษตรกรก็ต้องไม่กำจัดเศษวัสดุการเกษตร โดยการเผา ควรเปลี่ยนเป็นการกำจัดโดยทำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลหรือผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์

           เข้าทำนองที่ว่าร่วมด้วยช่วยกันครับ

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด