เรื่องควรรู้...ปลูกถ่ายตับ

เรื่องควรรู้...ปลูกถ่ายตับ

  อ.นพ.ประเวชย์  มหาวิทิตวงศ์

ภาควิชาศัลยศาสตร์ 
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

ตับ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณช่องท้องส่วนบนด้านขวาที่ระดับซี่โครงซี่สุดท้าย ทำหน้าที่ผลิตโปรตีน ซึ่งช่วยในเรื่องการแข็งตัวของเลือด  เก็บสะสมไขมัน  น้ำตาล  เหล็ก  และวิตามิน สำหรับใช้กำจัดสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ยา แอลกอฮอล์  เป็นต้น

การที่ตับถูกทำลายจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น จำเป็นต้องผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ผู้ป่วยควรมีความรู้เรื่องการปลูกถ่ายตับก่อนเข้ารับการรักษา โดยแพทย์จะตรวจประเมินความพร้อมของผู้ป่วย   ตั้งแต่

            - ตรวจกระดูก เต้านม ตรวจภายใน ตรวจต่อมลูกหมาก ซึ่งการตรวจเหล่านี้เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็ง ไปพร้อมๆ กัน หากพบว่ามีมะเร็งในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถปลูกถ่ายตับได้
            - ตรวจอัลตราซาวนด์  ดูขนาด รูปร่าง และเส้นเลือดของตับ ร่วมกับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (
CT)
            -
ตรวจการทำงานของปอดและหัวใจ เพื่อพิจารณาความพร้อมของร่างกายในการดมยาสลบขณะทำการผ่าตัด
            -
ตรวจรักษาฟัน  เพื่อเตรียมความพร้อมให้ปราศจากเชื้อโรค เพราะหลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน  ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อโรคในช่องปาก ที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง
            -
ในรายที่มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุของตับแข็ง ต้องงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดไม่น้อยกว่า 6 เดือน และต้องผ่านการประเมินจากจิตแพทย์ว่าหยุดแอลกอฮอล์ได้จริง ไม่กลับไปดื่มซ้ำอีก เพื่อผลการรักษาที่ดี

             หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ผู้ป่วยต้องรับประทานยา และมารับการตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามการทำงานของตับ และปรับระดับของยาให้เหมาะสม เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน แพทย์สามารถนำตับของผู้ที่มีหมู่เลือดตรงกันหรือเข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้กัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสายเลือดเดียวกัน  ซึ่งเป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด