ความเป็นมาของภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม

ารเรียนการสอนของวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน มีรากฐานมาจากวิชา “สุขวิทยาและการสาธารณสุข” โดยวิชานี้เริ่มมีการเรียนการสอนอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 เป็นต้นมา นับตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย” ร่วมกับมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ และสนับสนุนการวิจัยในด้านการแพทย์ทั่วโลก ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2456 โดย จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ (John D. Rockefeller) ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาด้านการแพทย์ของประเทศไทย หลักสำคัญในการเรียนการสอนเน้นให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจถึงการระบาดวิทยาของโรคและการป้องกันควบคุมโรคต่างๆ ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท
 
นปี พ.ศ. 2499 ได้มีการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาครั้งแรก เมื่อวันที่ 25-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ต.บางแสน จ.ชลบุรี ที่ประชุมลงมติว่า การสอนวิชานี้ ควรแยกเป็นภาคอิสระเหมือนในต่างประเทศ ให้มีอาจารย์ประจำและมีงบประมาณพอเพียง พร้อมด้วยความร่วมมือของภาควิชาอื่นๆ ในคณะแพทย์ การสอนควรมีชั่วโมงบรรยาย ประมาณ 60-80 ชั่วโมง ตั้งแต่ชั้นปีการศึกษาแพทย์ ปีที่ 1-4 และให้จัดการสอนวิชาทางสาธารณสุข ปัญหาทางสาธารณสุข ให้เป็นวิชาที่รวมกลุ่มอย่างชัดเจน เรียกว่า “วิชาเวชศาสตร์ป้องกัน”
 
างด้านการให้บริการทางการแพทย์ของภาควิชาในระยะแรก เปิดบริการสุขภาพแก่นักศึกษาแพทย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ และประชาชนทั่วไป โดยมีแพทย์ประจำตรวจรักษา ให้คำแนะนำและบริการ ได้จัดตั้งหน่วยวัคซีน ให้บริการแก่ผู้ใหญ่ หน่วยตรวจสุขภาพและให้คำแนะนำทางด้านโภชนาการ โดยให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการตั้งคลินิกทางด้านพิษวิทยา คลินิกให้ภูมิคุ้มกันเนื่องมาจากสัตว์มีพิษ (ร่วมกับหน่วยอุบัติเหตุ ภาควิชาศัลยศาสตร์) หน่วยโรคติดเชื้อและภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ร่วมกับหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์) คลินิกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (ร่วมกับหน่วยอายุรศาสตร์ปัจฉิมวัย ภาควิชาอายุรศาสตร์) เป็นต้น
 
อกจากนี้ ที่ผ่านมาภาควิชายังมีการทำงานวิจัยที่มีความสำคัญหลากหลายโครงการ เช่น ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อที่สำคัญ คือ Natural antibody against poliovirus เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการที่จะพิจารณาให้โปลิโอวัคซีน รวมทั้ง ได้ศึกษาเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า ศึกษาถึงอาการแสดง และระบาดวิทยาของโรค ตลอดจนการใช้วัคซีนและการป้องกันโรค พร้อมทั้งถ่ายทำภาพยนต์เพื่อแสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าให้ประชาชนได้เห็นและเข้าใจ เพื่อช่วยป้องกันและปราบปรามโรค เป็นต้น
 
จุดมุ่งหมายสำคัญและเป็นปรัชญาของภาควิชา คือ เผยแพร่แนวความคิด “การป้องกันมีความสำคัญเทียบเท่าหรือยิ่งกว่าการรักษา”